คลีนิกหมอเอกภพ-ภัทรียา > บทความ จากคุณหมอ > การนอนกรน

นอนกรน (Snoring) คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น นอนตะแคง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน โดยการนอนกรนส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

อาการนอนกรน

นอนกรนมักเกิดขึ้นในช่วงของการหลับลึกและจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยมีเสียงเกิดขึ้นที่บริเวณลำคอระหว่างหายใจเข้าในขณะนอนหลับ พบได้ในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ส่วนมากผู้ที่นอนกรนมักเกิดอาการร่วมกันระหว่างทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและอวัยวะภายในลำคอสั่น เสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น หากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังของโพรงจมูกสั่นจะทำให้เกิดเสียงขึ้นจมูก หรือหากเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นจะทำให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นในลำคอ เป็นต้น

ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

ภาวะหยุดหายในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นความผิดปกติในการนอนหลับ มักมีความเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน ควรไปพบแพทย์หากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับการนอนกรน

สาเหตุของนอนกรน

นอนกรนเป็นผลมาจากทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบลงหรือถูกปิดกั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยนอนกรน

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ที่นอนกรน หรือตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในช่องปากของผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เพื่อหาทางรักษาต่อไป หรือผู้ที่นอนกรนในระดับที่รุนแรง แพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

การรักษานอนกรน

เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น ส่วนผู้ที่นอนกรนในระดับรุนแรงหรือมีสาเหตุการกรนมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

ภาวะแทรกซ้อนของนอนกรน

นอนกรนนอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับบุคคลที่นอนข้าง ๆ แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

การป้องกันนอนกรน

นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรงสามารถบรรเทาและป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

Copyright © 2018 คลีนิกหมอเอกภพ-ภัทรียา All rights reserved.